ประกาศ

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลทั่วไป

          โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร ที่ตั้ง ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๓๑๐ โทรศัพท์ ๐๔๒–๒๖๘๐๓๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เว็บไซต์โรงเรียน https://www.thungfonwit.ac.th/ , E-mail thungfonwit๐๒@gmail.com โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษา ๖

ประวัติโรงเรียน

            โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๐ สถานที่ตั้ง คือ ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี โดยใช้หอประชุมโรงเรียนบ้านทุ่งฝนเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว (อนุบาลทุ่งฝนปัจจุบัน) จนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนลงในที่ดินของโรงเรียน ซึ่งมีเนื้อที่ ๒๖ ไร่ ตั้งอยู่ที่ริมหนองแล้ง (ทิศใต้) ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีนายสมพร ฤทธิ์มหา ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่เป็นคนแรก

          ปี ๒๕๒๑ ย้ายออกจากหอประชุมโรงเรียนบ้านทุ่งฝน ไปยังที่ดินแปลงที่ ๑ บริเวณริมฝั่งหนองแล้งด้านทิศใต้และโรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา ในการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๒ ห้อง ๑ หลัง บ้านพักครู ๑ หลัง บ้านพักนักการภารโรง ๑ หลัง ห้องส้วม ๑ หลัง และนอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่มองเห็นความสำคัญและตระหนักในการศึกษาของบุตรหลาน บริจาควัสดุอุปกรณ์ เสียสละกำลังแรงกายและแรงทรัพย์ร่วมมือกับทางโรงเรียนก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอีก ๑ หลัง ในปีเดียวกันนี้เองโรงเรียนประสบปัญหาน้ำท่วม ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ จึงได้ย้ายมาอยู่ที่ดินแปลงใหม่เนื้อที่ ๔๐ ไร่ในปัจจุบัน           ปีการศึกษา ๒๕๒๕ โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (ม.พ.ข. ๒ รุ่น ๑) ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน หอประชุม บ้านพักครู ประปา ไฟฟ้า และงบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ในห้องต่างๆ อย่างครบถ้วน

วิสัยทัศน์โรงเรียน

     ภายในปี ๒๕๖๘ โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนพื้นฐานหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

     ๑. พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐานสากล

     ๒. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     ๓. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

     ๔. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     ๕. สร้างระบบภาคีเครือข่ายของทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา